การเตรียมตัว เข้าคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์แบบเรียบง่าย
โดย ปพน จูน คิมูระ
SocWork Guide
สวัสดีครับผู้อ่าน/ผู้ชม
ในคอนเทนต์นี้พี่เรียบเรี
ในคอนเทนต์นี้พี่เลยเขียนเป็
เตรียมตัวในแต่ละรอบ ซึ่งพี่เชื่อว่าคนที่ตั้งใจจริ
ข้อแนะนำสำหรับคนที่
1. พยายามหาตัวตนที่ชั
2. ติดตามข่าวสารและความเปลี่
3. พยายามคิดวิเคราะห์และมองให้
พี่เชื่อว่า คนที่ตั้งใจรู้ตัวเองและรับผิดชอบกับการกระทำย่อมได้รั
แต่อย่าลืม เราต้องรักษาให้สม่ำเสมอเหมื
โปรดใช้วิจารณญาณ..และเหมาะ สําหรับน้อง ม.ปลาย
พี่จูน เจ้าของเพจสรุปสังคม ม.ปลาย 4.0 By P'Jun
เรานึกถึงคําว่า “สังคมสงเคราะห์อย่างไร”
- สังคมสงเคราะห์ = การดําเนินงานเพื่อช่วยเหลือบุคคลให้ สามารถช่วยตนเอง ได้ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน , ออนไลน์)
- การดําเนินกระบวนการสังคมสงเคราะห์ไม่ได้ทํางานคนเดียว แต่มีการประสาน ปรึกษาหารือ ร่วมกับสหวิชาชีพบนพื้นฐานคุณค่า และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
รวมถึงตามกฎหมายต่างๆที่เก่ียวข้อง
- รูปแบบและวิวัฒนาการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ยังเป็นภาพจํา ของใครๆ
- ความหมายและความสําคัญของงานสังคมสงเคราะห์
- สิ่งที่เกี่ยวข้องอาทิสวัสดิการสังคมสิทธิมนุษยชนพิมพ์เขียว สิทธิเด็ก การบริหารจัดการ คําประกาศสิทธิผู้ป่วย บัตรทอง นโยบายรัฐบาล การส่งเสริมสุขภาพครอบครัว ฯลฯ - สถานการณ์ ปรากฏการณ์ทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหา ความเปลี่ยนแปลง และ การเข้าถึงสวัสดิการ รวมถึงยุคสมัยท่ีเปลี่ยนไป
“สังคมสงเคราะห์ไม่ใช่แค่การช่วยเหลือคน..แต่เป็นการสร้างสังคมให้เป็นกลไก ร่วมกันบนบรรทัดฐานความเท่าเทียมและการพัฒนา”
สิ่งแรกที่ผู้เขียนขอชวนให้คิดก่อนจะตัดสินใจเข้าเรียนคณะนี้คือ “แรงบันดาลใจ” แต่ละคนมีเป้าหมาย ความฝัน และ แนวทางที่แตกต่างกัน การที่เราบอกว่า “สนใจที่ชอบช่วยเหลือคน” เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการต่อยอดจากจุดเล็กๆ สู่กระบวนการดําเนินงานและสิ่งที่คาดหวังแม้ว่าตัวพื้นฐานของการทํางานด้านสังคมสงเคราะห์คือ “มนุษย์” แต่ไม่ได้ หมายความว่า ภาพจําของเราที่จะต้องทํางานจะต้องช่วยเหลือเพียงอย่างเดียวบนโลกใบนี้
มีกลไกและเงื่อนไขในการขับเคลื่อนมากมาย เช่น กฎหมาย นโยบาย ความร่วมมือ ฯลฯ
ที่ต้องผสานความสัมพันธ์ระหว่างกัน ต่อให้ภาพจําของสิ่งนั้น คือ “การช่วยเหลือ...สู่การกินดีอยู่ดี” แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะปรับให้เข้ากับสภาพสังคมยุคใหม่ไม่ได้
จริงอยู่ว่า หากแยกคําว่าสังคมและสงเคราะห์ออกมา เราจะเข้าใจความหมายที่สามารถบูรณาการกันได้ว่า “เป็นการช่วยเหลือสังคมผ่านกระบวนการและเครื่องมือต่างๆ ทั้งกับคนที่ประสบปัญหารวมถึงคนทั่วไป”
ตัวอย่างหน่วยงานที่น่าสนใจ
สําหรับผู้ศึกษาที่จะสนใจเข้าเรียนคณะนี้ไม่ว่าจะเป็นคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หรือ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มักจะเปิดในคณะ สังคมศาสตร์พึงพิจารณาให้ดีว่าในอนาคตข้างหน้า ผู้ศึกษาสนใจที่จะเข้าทํางานตรงสายหรือ นําส่วนหนึ่งมาประยุกต์ในความสนใจทางวิชาการอื่น เพราะตามหน่วยงานเริ่มมีการขอ คุณสมบัติเฉพาะทาง คือ การมีใบประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคม สงเคราะห์ พ.ศ.2556 ที่เริ่มมีการสอบใบประกอบวิชาชีพ ในบางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทําความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคต จะมีนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพเป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินกระบวนการในฐานะ “เจ้าพนักงานตามกฎหมาย” ดังนั้นในปัจจุบัน วิชาชีพนี้มีความสําคัญไม่แพ้กับสาขาอื่น หากมองอย่างง่าย ในการขับเคลื่อนกลไกที่จะต้องมี ส่วนประกอบต่างๆให้ครบถ้วน หากชิ้นส่วนใดส่วนหนึ่งขาดไปย่อมหมายถึง “ความเชื่อมั่น” และ “ความสําเร็จ” ที่พึงเกิดย่อมลดลงอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม งานสังคมสงเคราะห์ ในปัจจุบันมีการขยายและสามารถประยุกต์ได้หลากหลายขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นภาคประชา สังคม งานราชทัณฑ์ การส่งเสริมสุขภาพ รวมถึง วิสาหกิจชุมชนที่มีการบูรณาการความรู้ ร่วมกับสาขาอื่นๆตามสมควร
ถ้าสนใจละ...จะเข้ารอบไหนดี
สําหรับคนที่สนใจจะเข้าศึกษา นอกจากการตรวจสอบตนเอง และคุณสมบัติที่ เกี่ยวข้องแล้ว แต่ละคนควรวางแผนในการตัดสินใจให้ดี โดยมองถึงอนาคต ความสนใจ
เป้าหมายและการปรึกษาจากคนในครอบครัวและอาจารย์ในโรงเรียน ถ้ามั่นใจว่าเตรียม ความพร้อมในการสอบหรือยื่นคะแนน ผู้เขียนจะขอแนะนําในส่วนที่เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จะเป็นการสอบสัมภาษณ์
เพื่อเข้ามาแต่จะมีกติกาและเงื่อนไขเพิ่มเติม โดยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะเปิดที่ศูนย์รังสิตและศูนย์ลําปาง ส่วนท่าพระจันทร์จะเป็นหลักสูตรนานาชาติ (จะได้วุฒิศิลปะ ศาสตร์บัณฑิต) โดยจะขอแนะนํา 3 รอบ คือ
รอบ 1 : PORTFOLIO
1. Portfolio : เหมาะสําหรับคนที่มีผลงานที่หลากหลาย
รอบนี้จากที่สังเกตเป็นรอบที่มีคนยื่นจํานวนมากและรับค่อนข้างน้อย
สิ่งหนึ่งที่ควร พิจารณาตั้งแต่แรกคือ GPAX ของผู้สนใจว่าใน 5 เทอม
ตามระเบียบการนั้นครบตาม เกณฑ์หรือไม่ หากไม่ถึง อย่ายื่นส่งโดยเด็ดขาด
เพราะการขาดคุณสมบัติ = ไม่มีสิทธิ์สัมภาษณ์ทุกกรณี
และผลงานที่ควรจะมีนั้นควรมีความหลากหลายและสะท้อนให้
เห็นถึงตัวตน ความตั้งใจเพื่อสังคม รวมถึงศักยภาพทางวิชาการ
แต่ถ้าใครไม่ค่อยมี ผลงานแข่งขัน ก็อาจจะไปทํากิจกรรมอย่างอื่น
ที่สะท้อนถึงจิตอาสาเพื่อสังคม แต่ทว่า ผู้นั้นจะต้องถ่ายทอดออกมา
ให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ และสามารถคล้อย
ความรู้สึกบนพื้นฐานที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งที่ควรมีเพิ่มเติมในแฟ้มฯ คือ
1.1. เอกสารรับรองการทํากิจกรรม : เช่น หนังสือรับรอง เกียรติบัตร คํานิยม ฯลฯ
1.2. ภาพถ่าย : ควรมีการอธิบายประกอบด้วยไม่ใช่มีแต่ภาพและเกียรติบัตร เท่านั้น
• หาความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับคําว่าสังคมสงเคราะห์กับ
สิ่งท่ีเรามองและสนใจผ่านกิจกรรม
• การออกแบบพอร์ตผ่านผลงานและตัวตนของคุณเป็นสิ่งที่สําคัญมาก
• การสะท้อนตัวเองเป็นแนวทางที่ดีแตaอยู่ที่ความสร้างสรรค์และ การจัดระเบียบ
• Port ไม่ได้ระบุว่ากี่หน้า แต่ก็ไม่ต้องมากจนเกินไป (อิงจากปีที่แล้ว)
• GPAX 5 เทอม ไม่ควรต่ำกว่า 3.00
• เกรดที่รังสิตจะสูงกว่าที่ลําปาง (การแข่งขันพอตัว)
• รับไม่มาก...พยายามทําผลงานให้สะท้อนถึงความเป็นสังคม
สงเคราะห์หรือเชิงประยุกต์ (ลํา ปางรับน้อยกว่ารังสิต)
• ผลงานที่ดีไม่จําเป็นต้องมีมากแต่จัดให้เป็นระบบและนําเสนอให้เป็น
(มีหนังสือรับรองการทํากิจกรรมได้ก็จะดีมาก)
• รายละเอียดเพิ่มเติมแนะนําโทรสอบถามกับทางคณะ (ช่วงเดือน พฤศจิกายน)
รอบ 3 : รับตรงร่วม
2. การสอบ:รอบที่ 3 (สอบความถนัดทางวิชาชีพ:คณะจัดเอง+GAT)
รอบนี้เป็นรอบที่วัดความสามารถของผู้ศึกษาที่แต่เดิมจะมีการสอบเพียงครั้งเดียวคือ การสอบความถนัดทางวิชาชีพที่จะต้องสอบทั้งวัน แต่ในปัจจุบันจะลดเวลาลงเหลือ 3 ชั่วโมง โดยรอบนี้ในการสมัครสอบจะใช้เกรดอะไรมาสมัครสอบข้อเขียนก็ได้ แต่เมื่อถึงเวลายื่นในระบบ MY TCAS (หรือระบบอื่นในอนาคต) เกรดที่ใช้เป็นเกณฑ์ เริ่มต้นพิจารณาคือ 2.50 Up (6 เทอม) นอกจากนี้จะต้องสอบ GAT เพื่อนํามายื่น คะแนนร่วมกันด้วย อย่างไรก็ดี
ในรอบนี้เป็นการวัด 3 สิ่งที่แต่ละคนควรมีและควร พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องได้แก่
2.1. ความรู้ : อย่างน้อยที่สุด ความรู้วิชาสังคมศึกษา 5 สาระ
เป็นพื้นฐานสําคัญ ในการต่อยอดทั้งกระบวนการวิเคราะห์ การตัดสินใจ และ ประยุกต์ความรู้ ร่วมกับความเข้าใจเบื้องต้นที่เกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมที่ ไม่ใช่แค่การมองพื้นฐานให้ลึกมาก แต่เราต้องรู้จักหยิบมาใช้ในการตัดสินใจ บนบริบทของโจทย์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
2.2. การจัดระบบความคิด : ในการสอบความถนัดทางวิชาชีพมีทั้งการสอบ ปรนัยและอัตนัย แน่นอนว่าลักษณะคําถามจะสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบ ถามทางตรง ความจํา หรือ ความรู้พื้นฐาน) และ การวิเคราะห์ (จากประเด็น/สถานการณ์ที่น่าสนใจ) สิ่งที่แต่ละคนควรมีคือ การจัดระบบใน การตัดสินใจและการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ โดยที่เราสามารถเชื่อมโยง ความรู้อื่นๆ เข้ามาได้ แต้ต้องสอดคล้องและมีความเหมาะสม ในการจัดการ การเขียนเรียงความหรือการตอบแบบอัตนัย ที่สามารถสื่อใจความและ ยกตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม
2.3. การบริหารเวลา : โดยปกติแล้วในการสอบลักษณะนี้จะมีเวลา 3 ชั่วโมง กับข้อสอบประมาณ 100++ ข้อ (มากกว่า 100 ข้ออยู่(แล้ว) ณ จุดนี้ นอกจากความรู้พื้นฐาน ทักษะต่างๆที่เกี่ยวขLอง การบริหารจัดการเวลาและ การวางแผนชีวิตเป็นสิ่งสําคัญ เพราะเชื่อว่าเมื่อเข้าห้องสอบอาการงงและ สับสนย่อมเกิดขึ้น เราจะต้องมีสติและควบคุมตนเองให้ได้ และที่สําคัญทําข้อสอบให้ครบทุกข้อและตรวจทานให้ดี
• การสอบในระยะหลังเป็นส่วนหนึ่งในระบบ TCAS
แต่ก็อย่าประมาทในการสอบเด็ดขาด
• GPAX ทางมหาวิทยาลัยกําหนดเป็นตัวคัดกรองเท่านั้น
• ต้องมาสอบความถนัดทางวิชาชีพ (คณะจัดสอบ) มิเช่นนั้นโอกาส
หลุดรอบ 3 มีแน่นอน และใช้คะแนน GAT ในการพิจารณาด้วย
• การทดสอบมีทั้งการสอบปรนัยและการสอบอัตนัย
• ความรู้เบื้องต้นสังคมสงเคราะห์ และ คําที่เกี่ยวข้องเช่น สิทธิ มนุษยชน สวัสดิกา
ความขัดแย้ง พิมพ์เขียว ความเท่าเทียม
• ปรากฏการณ์ทางสังคมข่าวสารและความรู้รอบตัว
• ความรู้วิชาสังคม (เชิงบูรณาการ)
• ทักษะการตัดสินใจ+ความแม่นยํา+การประยุกต์ความรู้และการบริหารเวลา
รอบ 4 : ADMISSION
3. Admission : รอบ4 (GPAXGATและONET)
รอบนี้เป็นรอบที่คะแนนค่อนข้างสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยส่วนมากคะแนนที่ ศูนย์รังสิตจะมากกว่าศูนย์ลําปาง เช่น เดียวกับประชากรที่สามารถรับได้ อย่างไรก็ ตามองค์ประกอบคะแนนที่จะใช้ในรอบนี้คือ GPAX GAT
และ ONET แต่ทว่า มี หลายสื่อได้อธิบายว่า มีการใช้ PAT1 หรือ PAT7 ด้วย
ซึ่งผู้เขียนขออธิบายว่า ในกรณีที่จะใช้คะแนน PAT1 หรือ PAT7 ควรพิจารณาตนเองว่าคะแนนที่ได้นั้น มากกว่า 200 ขึ้นไปหรือไม่ หากไม่ถึง ไม่ควรนํามาใช้โดยเด็ดขาด แต่ในขณะเดียวกัน ก็อย่าประมาทกับคะแนน O-NET และ GAT นะ เพราะกรณีนี้ไม่ได้จํากัดเกณฑ์ขั้นต่ำของเกรด
ดังนั้นถ้าสองตัวหลังถ้าใครคะแนนสูงมากและเกรดพอสมควรย่อมสามารถเข้าถึงโอกาสได้มากกว่า
สรุป ...
• สังคมสงเคราะห์ไม่ใช่แค่การช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาเท่านั้น แต่เป็นการคุ้มครองและรักษาสิทธิ์ในสิ่งที่เกี่ยวข้อง ทั้งในชีวิต ความมั่นคง ในเชิงบูรณาการ
• การทํางานไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่ตามกรอบหรือภาพจํา เราสามารถปรับใช้ผ่านแนวคิดกระบวนการกับ องค์กรตามความเหมาะสม
• อย่าคิดว่า เข้าง่าย และ เรียนง่าย ... ที่จริงไม่ได้ยากอย่างที่คิด แต่มีความท้าทายเสมอ
• เพราะสังคมสงเคราะห์ เกี่ยวข้องกับคน จะประมาท หรือ ผิดพลาดไม่ได้เลย (แม้จะยืดหยุ่นตามผู้ใช้บริการ)
ดาวน์โหลดเอกสาร
แนะแนวการเตรียมตัวเข้าคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ไฟล์แนบ
SocWork Guide (2019 Version) ไฟล์แนบ
SocWork Guide (2019 Version) Note ไฟล์แนบ
ลงทะเบียนเรียนคอร์สพี่จูนได้ที่
https://www.boostup.in.th/institute/tutor/77/course
ส่วนน้องๆ #Dek63 อยากจะเรียนรู้
และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนกา
ขอแนะนำคอร์สบุฟเฟต์
+ติวไม่อั้น...มากกว่า 400 ชม.
คุ้มค่าที่สุด ที่เดียวประเทศ
ที่ https://www.boostup.in.th/
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @Boostuptutor หรือคลิก bit.ly/BoostUpLine