ข้อสอบวิชาเฉพาะคืออะไร และ จะเตรียมตัวอย่างไรดี (?)



          พี่เคยได้รับคำถามจากน้องหลายคนในเพจ สรุปสังคม ม.ปลาย 4.0 By P’Jun ว่า “ข้อสอบวิชาเฉพาะคืออะไร” “มีความยากหรือไม่” และ “จะต้องเตรียมตัวสอบอย่างไรบ้าง” ซึ่งในบทความนี้พี่จะขออธิบายในภาพรวมและการลงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการสอบในสายสังคมศาสตร์จากประสบการณ์และการติดตามสถานการณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและสามารถสอดคล้องกับการเตรียมตัวสอบที่ไม่ใช่แค่การจำกัดกรอบหรือนิยามตนเองว่าจะยากเกินไปหรือไม่



          สำหรับการสอบวิชาเฉพาะนั้นจริงอยู่ว่าจะเป็นการสอบในลักษณะที่มีความเฉพาะทางเพื่อวัดความรู้ความสามารถตามสาขาวิชาที่ตนเองสนใจ ซึ่งในการสอบปัจจุบันนั้นแม้โดยมากแล้วจะเป็นการสอบที่อิงกับคะแนนอื่นๆในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยตามสาขาวิชาต่างๆ แม้ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ถูกคาดหวังสำหรับการสอบวิชาเฉพาะคือ “ความชำนาญ” “ความชัดเจน” และ “ความเหมาะสม” ที่น้องๆสามารถเลือกได้ว่าจะเดินไปทางไหน จะเดินอย่างไร และ จะก้าวต่อไปในสาขาวิชาตามความสนใจได้อย่างไรบ้าง



          ถ้าน้องๆได้ติดตามข่าวสารและสถานการณ์ในการสอบช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่า การสอบวิชาเฉพาะไม่ได้มีเพียงแค่การสอบแค่คณะแพทยศาสตร์ สายสุขภาพ (ในกลุ่ม กสพท)หรือในสายสังคมศาสตร์ดังที่พี่ยกตัวอย่างเท่านั้น ในสายศิลปกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ (บางมหาวิทยาลัย) ยังเลือกที่จะมีการสอบวิชาเฉพาะที่สามารถวัดได้ทั้งความรู้ทฤษฎี แนวคิด ทัศนคติ การแก้ปัญหา และ อีกหลายปัจจัยที่สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดความเป็นรูปธรรมที่ไม่ใช่เพียงการตอบโจทย์ การวางเงื่อนไข และ การสะท้อนความคิดที่มีแต่เพียงการคิดวิเคราะห์แยกแยะเท่านั้น แต่เป็นการประยุกต์ความรู้และความชัดเจนที่มีในแต่ละศาสตร์สาขาสำหรับการต่อยอดในการสอบให้เกิดความเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด เพราะสุดท้ายการสอบเปรียบเสมือน “จุดเริ่มต้น” ของการก้าวต่อไปยังคณะ/สาขาวิชาที่เราจะต้องเรียนและนำความรู้ไปใช้ในการทำงานต่อไป


          จากประสบการณ์ที่เห็นอย่างต่อเนื่องประกอบกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์และบริบทที่แตกต่าง อาจทำให้มองว่าวิชาสังคมศึกษามีบทบาทที่ไม่มากนักในการสอบวิชาเฉพาะ ทั้งที่จริงแล้ว ศาสตร์ต่างๆตามแต่ละกลุ่มสาระวิชาล้วนเป็น “ตัวช่วย” ในการนำพาประเด็นสู่ความหลากหลายที่มีการลงรายละเอียดได้อย่างต่อเนื่องและทำให้เป็นชุดความคิดที่มีโอกาสอย่างน่าสนใจที่ไม่ใช่เพียงการลงประเด็นหรือการมองอย่างรอบด้านเท่านั้น แต่น้องๆต้องคิดให้ดีว่า เวลาจะลงรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นการทำข้อสอบปรนัยหรือการสอบแบบอัตนัยจะมีทางเลือก การจัดระบบ และ การตัดสินใจอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความน่าจะเป็น และ การตัดสินใจอย่างแน่ชัดที่สุดท้ายแล้วตัวคำตอบสามารถนำมาขยายให้เกิดความเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ภายใต้ความต้องการ ความสอดคล้อง และ ความเหมาะสมตามสาขาวิชานั้นๆ
 
ตัวอย่างการนำความรู้มาเชื่อมโยงในการสอบวิชาเฉพาะ (สังคมศาสตร์)
          ประเด็นนี้พี่อยากให้พวกเราลองคิดกันต่อว่า เมื่อเราจะนำความรู้ในด้านสังคมศาสตร์ (ภายใต้วิชาสังคมศึกษา) มาประยุกต์ใช้ในการสอบวิชาเฉพาะ น้องๆสามารถนำมาประยุกต์อย่างไรได้บ้าง แม้ว่าข้อสอบแต่ละปีจะมีแนวโน้มที่เปลี่ยนไปและไม่มีความแน่นอนตามบริบทและสิ่งที่ถูกคาดหวังแต่ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรที่เราสามารถเตรียมความพร้อมและวางแผนตนเองในการเตรียมตัวสอบได้ พี่จะยกตัวอย่างความรู้ (เบื้องต้น) ที่คิดว่าสามารถนำมาต่อยอดในการสอบในแต่ละสนามของการสอบวิชาเฉพาะดังนี้
 
          เพราะด้วยเงื่อนไขและกรอบคิดอะไรบางอย่างที่บางครั้งเป็นสิ่งประกอบที่ทำให้การตัดสินใจและการหาจุดยืนที่เด่นชัดในการเขียนตอบ การวิเคราะห์ และ อภิปราย ซึ่งเชื่อว่าวิชาสังคมศึกษาเปรียบเสมือน “พื้นฐาน” ที่สามารถต่อยอดและให้โอกาสร่วมกันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่การสอบจะสามารถราบรื่นได้หากไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพอ
ดังนั้นสำหรับการอ่านหนังสือสอบเพื่อเตรียมตัวนั้น แนะนำว่าให้อ่านวิชาสังคมศึกษาเป็นฐานหลักในการนำไปต่อยอดในการลงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องแล้วถ้าจะไปในด้านไหนก็อาจจะเจาะลึกและลงรายละเอียดกันไป แต่สำหรับคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ พี่อาจจะแนะนำเพิ่มเติมว่า อยากให้น้องๆลองไปติดตามสถานการณ์ข่าวและแนวโน้มที่เปลี่ยนไปเช่น นโยบายสังคม การช่วยเหลือ การพัฒนาภายใต้ระบบสวัสดิการ และ การคุ้มครองสิทธิ์ภายใต้นโยบายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น สิทธิมนุษยชน ความเป็นพลเมือง การจัดการพื้นที่สาธารณะ ฯลฯ ซึ่งลักษณะคำถามในการสอบนั้นมีหลักๆ 2 ประเภท คือ

 
          โดยสรุปแล้วการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวิชาเฉพาะไม่ว่าจะในสาขาใดก็ตาม การเตรียมความพร้อมอย่างชัดเจนและการสร้างพื้นที่อย่างต่อเนื่องภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่คงเป็นความท้าทายร่วมกันที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ นำมาตั้งประเด็น และ นำมาขยายในช่องทางต่างๆที่ไม่ใช่แค่การท่องจำหรือการบอกตัวเองว่าจะเข้าสาขานั้นสาขานี้ แต่เป็นการต่อยอดที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความยั่งยืนตามบรรทัดฐานและกรอบความคิดที่ถูกสร้างและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่สุดท้ายก็ขึ้นกับพวกเขาอีกเช่นกันว่าจะพยายามทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่หรือจะเป็นแค่ “ลมแล้งๆ” ที่ได้แต่ฝัน แล้วไม่เป็นจริง
 
โชคดี และ หาตัวเองให้เจอนะ
 
By P’Jun (พี่จูน)  ปพน จูน คิมูระ
คอร์สเรียน https://www.boostup.in.th/institute/tutor/77/course
 
 


 
 


 
 

P’Jun Teach Series (จากความรู้ในเพจ...สู่การวิเคราะห์และเห็นภาพวิชาสังคมแบบง่ายๆ)

    
พบเทคนิคต่าง ๆ อีกมากมายที่ http://bit.ly/BoostUpLine 
ติดตามโปรโมชั่นและคอร์สเรียนอื่นๆ ที่ https://www.boostup.in.th/
ติดตามเพจที่   https://facebook.com/boostuptutor/