มารู้จักวิศวกรรมสาขาต่าง ๆกันเถอะ (ภาค 2)

มารู้จักวิศวกรรมสาขาต่าง ๆกันเถอะ 

น้องๆหลายคนที่อยากเป็นวิศวกร พี่เชื่อว่าน้อง ๆ ทุกคน น่าจะมีคำถามที่อยากรู้คล้าย ๆ กันว่า 
วิศวะมีกี่สาขา มีอะไรบ้าง ทำงานยังไงจริง ๆ แล้ววิศวฯนั้นมีหลายสาขามาก ๆ 
แล้วแต่ละมหาวิทยาลัยก็แตกต่างกันไป

อย่ารอช้า ไปดูกันเลย!!! 

10.วิศวกรรมชีวการแพทย์
ศึกษาเกี่ยวกับกลไกต่างๆของร่างกายทางสรีระวิทยาและชีววิทยาและการประยุกต์กับหลักการทางวิศวกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา หรือการช่วยในการในการบำบัดหรือตรวจวินิจฉัย

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเครื่องมือแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆ ดูแล รักษา ซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์ วิศวกรเครื่องมือแพทย์ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


 
11.วิศวกรรมพัสดุ/โลหการ
สาขานี้ก็เป็นอีกสาขาที่น่าสนใจนะครับ 
โดยจะศึกษาเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์ การขึ้นรูปโลหะ โพลิเมอร์ วัสดุเซรามิก แก้ว เทคโนโลยีการผลิตชิ้นงาน โดยการ ปาดผิว การตัด การเคลือบผิว เพื่อเพิ่มคุณภาพแก่ผลิตภัณฑ์ โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมเครื่องมือ

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรประจำอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมงานหล่อ อุตสาหกรรมเครื่องประดับ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ นักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ เป็นต้น
 


12.วิศวกรรมยานยนต์
มาถึงภาคเทพอีกหนึ่งสาขา สาขานี้ก็เข้ายากเช่นกัน เพราะปีหนึ่งเปิดรับน้อย แต่จบแล้วเป็นที่ต้องการของตลาด

วิศวกรรมยานยนต์มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตบุคลากรออกไปทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนในประเทศ ดังนั้นนิสิตจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับรถยนต์โดยเฉพาะ ทั้งโครงสร้างภายนอกและภายใน นอกเหนือจากวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรยานยนต์ นั่นเอง งานดี มีบริษัทมาจองตัว ถ้ามีฝีมือ เงินเดือนโหดมากๆ มีโอกาสได้ไปทำงาน ต่างประเทศ ด้วยนะ

 

13.วิศวกรรมการบิน
ศึกษา โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ออกแบบวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ เกี่ยวข้องกับอากาศยานและดาวเทียม โดยศึกษาด้าน อากาศพลศาสตร์ การควบคุม การขับดัน และศึกษาด้านวิชาการขับดันทางการบิน ระบบสัญญาณ

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรซ่อมบำรุงเครื่องบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมการบิน วิศวกรให้คำปรึกษาด้านอวกาศให้กับรัฐ



14.วิศวกรรมเรือ
นี้ก็เป็นสาขาหนึ่งของสายเครื่องกล เมื่อกี้ออกแบบรถไปแล้ว คราวนี้มาออกแบบเรือกันบ้าง 

โดยสาขานี่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรือโดยเฉพาะ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ Navai Engineering ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบตัวเรือและกระบวนการต่อเรือ Marine Engineering ศึกษาเกี่ยวกับระบบภายในของเรือ การวางผังแหล่งกำเนิด การระบายอากาศ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความปลอดภัยของเรือด้วย

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรต่อเรือ นั้นเอง จบไปทำได้หลายอย่าง เช่น อยู่อู่เรือ อยู่แท่นขุดเจาะ ซ่อมเรือ ดูโครงสร้างเรือ ออกแบบเรือ เป็นต้น

 

15.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ศึกษาเรื่องระบบอิเล็กทรอนิกซ์ เทคโนโลยีต้นแบบที่ใช้ในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆแทบทุกชนิด และคิดค้นนวัตรกรรมใหม่ๆ รวมทั้งศึกษาระบบสื่อสาร ระบบภาพ ระบบเพื่อความบันเทิง ด้านการแพทย์ การทหาร ที่ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกซ์ในการทำงาน

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา เป็นวิศวกรวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ด้านอิเล็กทรอนิกซ์ให้กับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน รวมทั้งพัฒนาอุปกรณ์ด้านอิเล็กทรอนิกซ์ในภาคอุตสาหกรรม

 

16.วิศวกรรมโทรคมนาคม
ศึกษาระบบสื่อสารและโทรคมนาคมต่างๆ เช่น ระบบไมโครเวฟ ระบบดาวเทียม การเรียนรู้และการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารสมัยใหม่ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการสื่อสาร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรด้านโทรคมนาคมให้กับบริษัทด้านโทรคมนาคมต่างๆ วิศวกรการไฟฟ้า วิศวกรให้คำปรึกษาด้าน
โทรคมนาคม วิศวกรระบบ



17.วิศวกรรมซอฟแวร์
ศึกษา การพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยใช้ความรู้ด้าน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ใช้การประมวลผลแบบขนานและกระจาย

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษาเป็นวิศวกรพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ให้ภาครัฐและเอกชน ผู้ดูแลระบบขององค์กร วิศวกรรักษาความปลอดภัยข้อมูลขององค์กร



18.วิศวกรรมระบบควบคุม
ศึกษาด้านการนำความรู้และการคำนวณทางคอมพิวเตอร์มาควบคุมระบบอัตโนมัติเช่น การควบคุมหุ่นยนต์แบบอัตโนมัติ การให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลด้วยภาพและเสียง การควบคุมระบบอัจฉริยะสมองกล การใช้ทักษะและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ควบคุมกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรควบคุมการผลิตในโรงงงานอุตสาหกรรมอาทิ วิศวกรควบคุมระบบหัวจ่ายน้ำมัน วิศวกรควบคุมการเดินรถไฟฟ้าระบบจราจร วิศวกรพัฒนาอุปกรณ์ด้านไฟฟ้าให้เป็นระบบอัตโนมัติ



19.วิศกรรมเครื่องมือวัด
ศึกษาในการนำข้อมูลซึ่งได้จากอุตสาหกรรมเช่น อุณหภูมิ ความดัน ระยะทาง ความดัง แรงสั่นสะเทือน เพื่อนำมาประมวลผลเพื่อใช้ในการประยุกต์กับวิศวกรรมระบบควบคุม เพื่อให้ได้ระบบอัตโนมัติที่มีความมั่นคง แน่นอนในการผลิตด้านอุตสาหกรรม

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรตรวจสอบเครื่องมือและการวัดคุม อุปกรณ์ต่างๆของภาคอุตสาหกรรมและรัฐเพื่อให้มาตรฐานของเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมได้มาตรฐานและมีความแม่นยำ

 

20.วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
ศึกษาด้านวิศวกรรมโดยการประยุกต์สาขา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมการผลิตการผลิต วิศวกรรมระบบควบคุม มาออกแบบเครื่องจักรกลสมัยใหม่ เช่น หุ่นยนต์ แขนกล ระบบอัตโนมัติทุกชนิดโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งควบคุม เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรควบคุมการผลิตของโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบกระบวนการผลิตสมัยแบบที่ หรือ ระบบการผลิตที่มนุษย์ไม่สามารถผลิตได้