มารู้จักวิศวกรรมสาขาต่าง ๆกันเถอะ (ภาค 3)

มารู้จักวิศวกรรมสาขาต่าง ๆกันเถอะ 

น้องๆหลายคนที่อยากเป็นวิศวกร พี่เชื่อว่าน้อง ๆ ทุกคน น่าจะมีคำถามที่อยากรู้คล้าย ๆ กันว่า 
วิศวะมีกี่สาขา มีอะไรบ้าง ทำงานยังไงจริง ๆ แล้ววิศวฯนั้นมีหลายสาขามาก ๆ 
แล้วแต่ละมหาวิทยาลัยก็แตกต่างกันไป

อย่ารอช้า ไปดูกันเลย!!! 

21.วิศวกรรมเครื่องมือ
ศึกษาโดยเน้นการออกแบบเครื่องมือ และการเลือกวัสดุมาใช้เป็นเครื่องมือโดยผลิตจากวัสดุประเภทโลหะ อโลหะ โดยจะศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมวัสดุ เพื่อผลิตเครื่องมือสมัยใหม่ รวมทั้งการใช้เครื่องมือในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสูงสุด

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือกล แม่พิมพ์พลาสติกและขึ้นรูปโลหะในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกซ์โดยออกแบบและควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์


 
22.วิศวกรรมอาหาร
ศึกษา ด้านการออกแบบเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตอาหารจำนวนมาก โดยใช้หลักด้านวิศวกรรมเครื่องกลมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร โดยศึกษาเรื่องเครื่องฆ่าเชื้อ กลศาสตร์ของไหล เครื่องมือแปรรูปอาหาร หน่วยปฏิบัติการด้านวิศวกรรมอาหาร โดยใช้ศาสตร์วิชาด้านจุลชีววิทยา เคมี วิทยาการอาหาร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม วิศวกรควบคุมการผลิตอาหารและควบคุมความปลอดภัยด้านอาหา


 
23.วิศวกรรมสำรวจ
สาขานี้จะเป็นสาขาย่อยของสาขาโยธา 
โดยจะศึกษาเกี่ยวกับการรังวัดทั่วไปจนถึงการรังวัดด้วยดาวเทียมและเรื่องการทำแผนที่แล้วยังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของ Geoinformatic Engineering ซึ่งเป็นการศึกษาที่นำไปใช้กับระบบ GPS หรือระบบติดตามด้วยดาวเทียม ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดงานในขณะนี้และในอนาคต

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรสำรวจ นั้นเอง



24.วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการสำรวจหาแหล่งแร่ การประเมินคุณภาพแร่ การวางแผนการทำเหมืองในรูปแบบต่างๆ การควบคุมการทำเหมืองแร่ และการใช้อุปกรณ์ชนิดต่างๆ ในการแยกแร่ สาขาวิศวกรรมทรัพยากร จะเรียนเกี่ยวกับการนำทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้แล้วนำกลับมาสู่กระบวนการแยกแร่ แล้วนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตต่อไป

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรเหมืองแร่ ในการขุดหาถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน รวมถึงอัญมนีใต้พื้นดิน และใต้ทะเล วิศวกรผลิตและแปรรูปแร่ธาติต่างๆ


 
25.วิศวกรรมปิโตรเคมี และวัสดุพอลิเมอร์
ศึกษา ความรู้ด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การแปรรูปน้ำมัน ปิโตรเลี่ยม แก๊สธรรมชาติ สินแร่ วัสดุศาสตร์ การจัดการและออกแบบอุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมีจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม ออกแบบและพัฒนาวัสดุโพลิเมอร์

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรควบคุมการผลิตด้านปิโตรเคมี พลาสติก ยาง สิ่งทอ สร้างเคลือบ กาวอุตสาหกรรมแปรรูปแป้ง วิศวกรควบคุมคุณภาพ



26.วิศวกรรมนิวเคลียร์
ศึกษาเรื่องการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีในงานอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์นิวเคลียร์และรังสี เช่นเครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้ผลิตเอกซเรย์ซึ่งมีใช้ทางการแพทย์และอุตสาหกรรมเครื่องผลิตนิวตรอน (คนละอย่างกับเครื่องปฏิกรณ์) ต้นกำเนิดรังสี การถ่ายภาพ การตรวจสอบและปรับปรุงวัสดุโดยเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี
 
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา เป็นนักวิจัย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ


 
27.วิศวกรรมเกษตร
ศึกษาทักษะความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลโดยใช้ความรู้ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมการเกษตร การเตรียมเนื้อที่ การเก็บเกี่ยว การใช้เครื่องมือเครื่องใช้ด้านการเกษตร ผลิตอุปกรณ์ใหม่ๆทางเกษตร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรควบคุมการผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร การแปรรูปสินค้าทางเกษตร ระบบชลประทาน โดยสาขานี้สามารถสอบใบ กว(ใบประกอบวิชาชีพวิศวกร) ในสาขาเครื่องกลได้


 
28.วิศวกรรมขนส่งทางราง
ศึกษาจะได้ศึกษาตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง องค์ประกอบและการออกแบบระบบรางรถไฟ การตัดทางรถไฟ การซ่อมบำรุงรถไฟ หน้าที่และการทำงานของระบบต่างๆของรถไฟการวิเคราะห์แรงต้านและการใช้พลังงานของรถไฟ การสร้างและซ่อมบำรุงรางรถไฟการควบคุมการจราจรของรถไฟและระบบการส่งสัญญาณ

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรระบบขนส่งทางราง วิศวกรรถไฟฟ้า


 
29.วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
ศึกษาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล มาใช้สำหรับการออกแบบระบบขนถ่ายวัสดุในรูปแบบต่างๆ เช่น สายพานลำเลียง (Belt) ,ลูกกลิ้งลำเลียง (Roller) ,การขนถ่ายวัสดุด้วยลม ,สกรูลำเลียง (Screw) ,ระบบอัตโนมัติ และรูปแบบอื่นๆ มาใช้กับอุตสาหกรรมการผลิต


อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรขนถ่ายวัสดุ


 
30.วิศวกรรมโยธา ทรัพยากรน้ำ
ศึกษาความรู้พื้นฐานทางด้านกลศาสตร์ของของไหล วิศวกรรมชลศาสตร์ วิศวกรรมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลวิศวกรรมทรัพยากรนํ้าและสิ่งแวดล้อม งานอุทกวิทยาของน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน การจัดการทรัพยากรน้ำงานด้านวิศวกรรมโยธา เพื่อออกแบบโครงสร้างอาคารชลศาสตร์

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรที่ปฏิบัติงานได้ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การประปาภูมิภาค ฯลฯ


 
31.วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ
ศึกษาความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและกระบวนการผลิต มาประยุกต์ใช้กับวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค้าสินค้น การแปรรูปสินค้า วัตถุดิบการเกษตร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา วิศวกรกระบวนการผลิต ควบคุมคุณภาพ วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมชีวภาพ