5 อันดับ คณะสุดโหด ที่เค้าบอกว่าเรียนยาก
ในประเทศไทยนั้นมีมหาวิทยาลัยอยู่มากมายหลายเเห่ง
เเต่เรารู้มั้ยว่าจะเข้าไปเรียนเเต่ละที
ต้องผ่านอะไรเยอะแค่ไหน!!
เรามาดู 5 อันดับ คณะสุดโหด ที่เค้าบอกว่าเรียนยากกันเถอะ
คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law) เป็นคณะที่เรียนกับกฎหมาย
หรือวิชาที่มีกฏหมายเป็นวัถตุประสงค์การศึกษา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์
ความประพฤติของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม
โดยมีการกำหนดออกมาเป็น กฎหมาย
เพื่อทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีระเบียบ
ดังนั้น
การเรียนในคณะนิติศาสตร์ก็คือ
การเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้กฎหมายอย่างถูกต้องและมีจริยธรรม
การเรียนกฎหมายไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่ในศาลหรือเป็นทนายความเสมอไป
แต่สามารถทำงานที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในบริษัทเอกชน
หรือทำงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและอื่นๆ อีกมากมาย
การเรียนกฎหมายมีข้อดีและประโยชน์อย่างมาก
รวมถึงมีเส้นทางอาชีพมากมายรออยู่
ได้รับทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์
มีพลังในการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น
.
นอกจากนี้ยังเป็นวิชาชีพที่ได้รับความเคารพนับถือยกย่องจากสังคม
และความรับผิดชอบของการเป็นพลเมืองได้พัฒนาความมั่นใจในตนเอง
สามารถสร้างทักษะการสื่อสารและการปรับตัวที่ดี
เหมาะกับการทำงานที่หลากหลาย เพราะการเรียนกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะมาตรฐานของการเรียนสาขานี้ต้องสูงและมีคุณภาพอย่างมาก
.
กฎหมายไม่เหมือนวิชาวิทยาศาสตร์หรือสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ต้องใช้ความละเอียดในการคำนวณ
แต่ต้องใช้ความมานะ ความอดทนและความเข้าใจ
ถ้าเราเข้าใจกฎหมายแล้ว
ก็จะง่ายนิดเดียวและนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้มากมาย
คณะแพทยศาสตร์ เป็นคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ เรียนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของคน
รวมไปถึงการเยียวยา รักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วย เน้นไปที่การรักษาโรค
และพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวกับการรักษา
กันว่าเส้นทางการการเรียนต่อในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่หนักในยุคปัจจุบัน
เพราะคุณหมอจะต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและความรู้เพื่อสามารถตรวจและวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง
สามารถแก้ปละบรรเทาอาการป่วยของผู้ป่วยจนหายดีได้..
ดังนั้นการเตรียมพร้อมและทุ่มเวลาเรียนในด้านวิทยาศาสตร์
จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนด้านแพทยศาสตร์อย่างมาก
ถึงแม้ปัจจุบันทาง กสพท. จะเปิดรับเด็กสายศิลป์สามารถสอบ คณะแพทยศาสตร์
และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้ก็ตาม
แต่ก็ต้องแม่นพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วย เช่นกัน
จึงทำให้เด็กศิลป์ต้องตั้งใจและเรียนรู้มากกว่าเดิมหลายเท่าตัว
เพื่อโอกาสที่จะสามารถทำคะแนนสู้กับเด็กสายวิทย์ได้..
และถึงแม้จะเป็นเด็กสายวิทยาศาสตร์ก็ไม่เช่นเรื่องง่ายเช่นกันที่อยู่ดีๆ ก็จะมาเรียนหมอได้เลย
.
นอกจากพื้นฐานการเรียนที่สำคัญแล้ว การเตรียมตัวสอบก็ยังสำคัญไม่แพ้กัน
เพราะผลคะแนนที่ทำได้นั้นเป็นตัวชี้ชะตาว่าน้องๆ จะสอบติดหมอหรือไม่
เพราะสัดส่วนคะแนนที่นำมาคัดเลือกน้องๆ
นั้นคือ
วิชาสามัญ 70% และวิชาเฉพาะ 30%
.
โดยวิชาสามัญก็มาจากการสอบวิชาสามัญ ประกอบไปด้วย
วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา)
40% + คณิตศาสตร์ 1
20%
+ ภาษาอังกฤษ
20% + ภาษาไทย
10% + สังคมศึกษา
10%
และน้องๆ ที่กำลังศึกษา ม.6 ในปีการศึกษาที่คัดเลือก
ต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 60% ถึงจะผ่านการคัดเลือก
.
และตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบจากเดิมที่ กสพท. จัดสอบแยกเอง
ต้องมารวมเข้ากับระบบ
TCAS ใน
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
แต่..สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมคือ โดยปกติในปีที่ผ่านมา น้องๆ
จะมีระยะเวลาในการพักหลังจากการสอบแต่ละอย่างประมาณเดือนถึงสองเดือน
แต่ระบบ TCAS ทำการจัดสอบติดกัน
โดยน้องๆ ที่จะเข้า กสพท. จะสอบ 3 สัปดาห์ติดกัน
สอบ O-Net ก่อน แล้วค่อยสอบวิชาเฉพาะความถนัดทางการแพทย์
แล้วจึงสอบวิชาสามัญ)
ดังนั้นในระบบใหม่นี้ หากไม่วางแผนการอ่านหนังสือดีๆ ก็มีโอกาสที่จะพลาดฝันได้สูงพอสมควรเลยทีเดียว..
.
เมื่อสอบเสร็จและได้รับการคัดเลือกเป็นนักศึกษาแพทย์แล้ว..
การเรียนในแพทย์ในแต่ละชั้นปีก็ต้องมีความตั้งใจ มุ่งมั่นอย่างสูงอีกเช่นกัน
เพราะเป็นอีกหนึ่งตำราและอีกหนึ่งบททดสอบที่ทุกคนต้องผ่านไป ให้ได้
อีกทั้งยังไม่รวมการศึกษาเพิ่มเติมหรือเฉพาะทางอีก
เรียกได้ว่า กายต้องพร้อม ใจต้องพร้อมด้วยเลยทีเดียว!
สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการออกแบบกายภาพด้านต่างๆ
เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง
ผลิตภัณฑ์การออกแบบภายใน ตลอดจนการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมให้ได้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุด
แก่เจ้าของงานและประชาชนที่เกี่ยวข้อง
ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงออกถึงคุณค่าแห่งศิลปะในสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้น
นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงด้านการวางแผนและเคหการด้วย
เพราะสถาปัตย์ไม่ได้มีแค่สาขาเดียว และในแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีสาขาและชื่อเรียกแตกต่างกัน
งานด้านบัญชีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทุกประเภท
ทำให้นักบัญชีเป็นที่ต้องการของหลายๆ บริษัท
และเมื่อมีการเปิดสมาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็ทำให้อาชีพด้านบัญชีมีอิสระมากขึ้น
สามารถไปทำงานประเทศใดก็ได้ในอาเซียน
.
ถ้าหากน้องๆ อยากเรียนต่อคณะ/สาขาบัญชีของมหาวิทยาลัยรัฐ
ก็จะต้องเลือกเรียน แผนวิทย์ฯ-คณิต หรือ ศิลป์-คำนวณ
เพราะคณะ/สาขาบัญชีของมหาวิทยาลัยรัฐส่วนมากจะกำหนดคุณสมบัติในการสมัครเข้าเรียนต่อไว้ว่า
จะต้องเป็นผู้สมัครที่จบแผนการเรียนวิทย์ฯ-คณิต หรือ ศิลป์-คำนวณ เท่านั้น
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าน้องๆ แผนศิลป์ภาษาจะไม่สามารถเรียนสาขาบัญชีได้นะ
มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งก็ยังเปิดรอรับสมัครน้องๆ ทุกคนอยู่เหมือนกัน
.
สำหรับน้องๆ คนไหนที่ตั้งใจอยากจะเรียนต่อในสาขาด้านบัญชี
แต่ยังไม่รู้จะเตรียมตัวยังไงกับการเรียนที่ต้องเจอในมหาวิทยาลัย
มาดูทักษะที่จำเป็นในการเรียนบัญชี และเตรียมตัวกันก่อนที่จะเข้าไปเรียน
.
มีความละเอียดรอบคอบ
น้องๆ ที่จะเรียนบัญชีต้องฝึกความละเอียดรอบคอบ
เพราะเวลาทำบัญชีต้องเจอกับตัวเลขค่อนข้างเยอะ
หากคำนวนผิดก็จะต้องคำนวนใหม่ และเกิดความเสียหายได้ด้วย
.
ความจำดี การเรียนบัญชีนั้นจะมีหลักการและทฤษฎีมากมาย
เพื่อนำมาใช้ในการคำนวนบัญชี
นอกจากนี้ยังมีหลักกฎหมายอีกมาก เพื่อเตรียมนำไปใช้ในการทำงาน
.
สามารถคิดวิเคราะห์ได้ นอกจากจำหลักการได้แล้ว น้องๆ จะต้องวิเคราะห์หลักการต่างๆ
แล้วนำหลักการที่เรียนมาใช้
เพื่อแก้สถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ทั้งในข้อสอบและสถานการณ์จริง
.
มีความอดทน
นอกจากต้องละเอียดรอบคอบ จำหลักการได้ และวิเคราะห์ปัญหาแล้ว
อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคน แต่ถ้านี้เป็นคณะในฝันละก็จะต้องอดทน และผ่านไปให้ได้
.
มีความขยัน
ถ้าจะเก่งบัญชีได้นั้น จะต้องอาศัยความขยันอย่างมากทั้งหลักการต่างๆ
และการวิเคราะห์สถานการณ์ที่ซับซ้อน ต้องฝึกจนเกิดความชำนาญ น้องๆ จึงจะเป็นคนที่เก่งด้านบัญชีได้
วิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สะสมมาแต่อดีต
จนปัจจุบันและต่อไปถึงอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เริ่มแต่ธรรมชาติรอบ ๆ ตัว
จากองค์ประกอบที่เล็กที่สุด ไปจนถึงใหญ่ที่สุดในเอกภพ
ในแง่ที่ว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติมีความเป็นมาอย่างไร สัมพันธ์กันหรือไม่
.
ลำดับการพัฒนาเป็นอย่างไร มีระเบียบแบบแผนและหลักเกณฑ์หรือไม่
การเรียนวิทยาศาสตร์อาศัยรากฐานของการสังเกต การตั้งสมมติฐาน
โดยใช้หลักปรัชญาและตรรกวิทยา
พยายามสังเกตและวัดปริมาณเป็นตัวเลขออกมา เพื่อความแม่นยำ
โดยอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์ ดังนั้นส่วนสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์
คือ การเรียนเกี่ยวกับเทคนิคในการสังเกตและการทดลอง ผนวกกับการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ แบ่งสาขาการเรียนออกเป็น สาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ โ
ดยเน้นทั้งในด้านทฤษฎีและการนำไปใช้ เน้นหนักการศึกษาเพื่อให้รู้คุณค่าของคณิตศาสตร์ในการคิด
มีเหตุผลทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ในการดำเนินงานวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้มาก
2. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ศึกษาเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมและการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์และออกแบบ ระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบควบคุมการดำเนินงานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์
3. สาขาวิชาเคมี ศึกษาเน้นหนักด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ ตั้งแต่ระดับอะตอมถึงระดับโมเลกุล เพื่อให้ผู้เรียนเคมีสามารถศึกษาขั้นสูงต่อไป และนำไปประยุกต์ในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับเคมีในทางอุตสาหกรรมทั้งหลายได้
4. สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำคัญยิ่งวิชาหนึ่งที่หยั่งลึกลงไปในธรรมชาติของสสาร และพลังงาน
5. สาขาวิชาชีววิทยา จะศึกษาเน้นทางด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงระดับชีวิต และสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
6. สาขาวิชาสัตววิทยา จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับสัตววิทยาทั่วไป อนุกรมวิธานสัตว์ วิวัฒนาการของสัตว์ สัตว์ภูมิศาสตร์ กายวิภาคเปรียบเทียบสัตว์คอร์เดท สัตว์มีและไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และวิชาเฉพาะเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์และสรีรวิทยาสัตว์ จุลกายวิภาคศาสตร์ การพัฒนาตัวอ่อน ฮอร์โมน พยาธิของสัตว์ รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาตัวอย่างสัตว์ด้วยการทำสไลด์ถาวร การดองใสสัตว์ และการสตัฟฟ์สัตว์
7. สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ เน้นหนักเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต การสืบพันธุ์ การขยายพันธุ์ ความสัมพันธ์ของพืชกับสิ่งแวดล้อม วิวัฒนาการของพืช การจัดจำแนกหมวดหมู่พันธุ์ไม้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เภสัชกรรม
8. สาขาวิชาพันธุศาสตร์ เน้นหนักเกี่ยวกับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ ความแตกต่างของลักษณะที่มีสาเหตุเนื่องมาจากสารพันธุกรรมทั้งในคน สัตว์ และ พืช ตลอดจนศึกษาเชิงพฤติกรรมของสารพันธุกรรมระดับโมเลกุล และโครงสร้างของสารเหล่านั้น ความรู้ในสาขาวิชานี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแนะนำ ป้องกันและรักษาโรคที่เนื่องมาจากพันธุกรรมของคนและสัตว์ อีกทั้งนำไปปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มผลผลิต ตลอดจนใช้ปรับปรุงคุณภาพของวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร และการเภสัช
9. สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม เน้นหนักใน 2 สาย คือ
สายเคมีวิศวกรรม ซึ่งเรียนเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเคมีภัณฑ์ และเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ต้องใช้กระบวนการเคมี ตลอดจนการออกแบบและการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องปฏิกรณ์เคมี หอกลั่นลำดับส่วน เครื่องต้มระเหย เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน และ
สายเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง ศึกษาด้านอุตสาหกรรมน้ำมันก๊าชธรรมชาติ เชื้อเพลิงแข็ง และพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ การประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน
10. สาขาวิชาธรณีวิทยา เน้นหนักเกี่ยวกับทรัพยากรธรณี เช่น แร่ หิน เชื้อเพลิงธรรมชาติ น้ำ ตลอดจนวัสดุก่อสร้างทั้งการสำรวจ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และศึกษาเกี่ยวกับโลกทั้งทางเคมีและภายภาพ เช่นแผ่นดินไหว ธรณีเคมี
11. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เน้นการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขาวิชา เป็นการศึกษาแบบบูรณาการ
12. สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล เน้นเกี่ยวกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อมของท้องทะเลและมหาสมุทร ตลอดจนการนำทรัพยากรจากท้องทะเลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น 2 สายวิชา คือ สมุทรศาสตร์สกายะและเคมี และสายชีววิทยาทางทะเลและประมง
13. สาขาวิชาชีวเคมี ศึกษาเกี่ยวกับชีวเคมีพืช ชีวเคมีสัตว์ ชีวเคมีสิ่งแวดล้อม ชีวเคมีประยุกต์ในการเกษตรและอุตสาหกรรม และชีวเคมีทั่วไป ซึ่งเป็นวิชาที่กล่าวถึงโครงสร้าง สมบัติ การทำงานและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของชีวโมเลกุลในพฤติกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
14. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ศึกษา 2 ทาง คือ
ทางเซรามิกส์ ซึ่งเน้นกระบวนการผลิตวัสดุภัณฑ์ ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมด้านวัสดุคาบเกี่ยว อีกทางหนึ่ง คือ
ทางโพลีเมอร์ ซึ่งเน้นกระบวนการในอุตสาหกรรมด้านโพลีเมอร์ เส้นใย สิ่งทอ พลาสติก สี และวัสดุเคลือบผิวต่าง ๆ
15. สาขาวิชาจุลชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ ได้แก่ รา แบคทีเรีย และไวรัส โดยนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม การเกษตร การอาหาร การแพทย์ และการสาธารณสุข ตลอดจนปรับปรุงมลภาวะและสภาพแวดล้อม
16. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางภายถ่าย และเทคโนโลยีทางการพิมพ์ ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการถ่ายภาพ และเทคโนโลยีการพิมพ์
17. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร มี 2 สายได้แก่
สายเทคโนโลยีทางอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปและการถนอมอาหาร
โดยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง และสายเทคโนโลยีทางชีวภาพศึกษาเกี่ยวกับการผลิตสารชีวเคมี
ซึ่งได้จากสิ่งมีชีวิต และการนำเอาชีวเคมีไปประกอบในอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตเอนไซม์
และการผลิตสารปฏิชีวนะ
18. สาขาวิชาสถิติ ศึกษาเกี่ยวกับสถิติทั้งทฤษฎีและประยุกต์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการทดลอง การสุ่มตัวอย่าง สถิติควบคุมคุณภาพ การวิจัยดำเนินการ สถิติประกันภัย สถิติธุรกิจ การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
19. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศึกษาสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุขทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
โดยทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับวินิจฉัยชุมชน การวางแผนงาน การดำเนินงาน การตรวจสอบ
และการประเมินผลงาน ตลอดจนสามารถเป็นผู้นำและผู้ประสานงานด้านสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข
อีกทั้งสามารถพัฒนาตนเองด้านวิชาการในระดับสูงต่อไป เน้นหนักเกี่ยวกับโครงสร้าง
และระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ กระบวนการเกิดโรค การระบาดของโรค
และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ชุมชน
และอุตสาหกรรมรวมถึงกระบวนการเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมป้องกัน รักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัย
20. สาขาวิชาเทคโนโลยีชนบท ศึกษาในด้านเทคโนโลยีชนบท เพื่อช่วยส่งเสริม พัฒนา ดัดแปลง
เสริมสร้างเครือข่ายและขบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชนบทต่อไป หลักสูตรจะอยู่ในรูปของสหวิชา
ที่ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ซึงจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ คัดเลือก
ให้คำแนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการพัฒนาชนบท
ในสายวิชาพัฒนาแหล่งน้ำ แรงงานโยธา เครื่องจักรกลการเกษตร
อุตสาหกรรมขนาดย่อมและพลังงานชนบท
อีกทั้งมีความรู้ที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมอย่างเหมาะสม
21. สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางนิวเคลียร์ รังสีสุขภาพ
และการป้องกัน เทคนิคการวัดรังสี ชีววิทยารังสี รังสีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสี
รังสีและการกลายพันธุ์ การวิเคราะห์โดยวิธีทางนิวเคลียร์ การใช้รังสีและไอโซโทปในการเกษตร เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ต้องจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ มีความสนใจด้านการค้นคว้า ทดลอง
และเป็นคนช่างสังเกต
แนวทางในการประกอบอาชีพ รับราชการ เช่น เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิจัย
หรือนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษา กระทรวงต่าง ๆ สามารถประกอบอาชีพในธุรกิจเอกชน
โรงงานอุตสาหกรรม โดยทำหน้าที่เป็นนักเคมี นักวิเคราะห์ระบบ นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์
นกวิชาการคอมพิวเตอร์ และสามารถศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ
.
คอร์สติวสอบติด TCAS Premium
ลงทะเบียนเรียนได้ที่ https://www.boostup.in.th/TcasStandard
คอร์สติวเนื้อหา ม.ปลาย
ลงทะเบียนเรียนได้ที่ https://www.boostup.in.th/senior