สรุปภาพรวม + โค้งสุดท้ายการเตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ปพน จูน คิมูระ (พี่จูน)
ผู้เขียนเชื่อว่า ณ ช่วงที่คุณกําลังอ่านบทความนี้คงเป็นโค้งสุดท้ายสําหรับการเตรียมความพร้อมในการสอบวิชาเฉพาะคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ซึ่งเชื่อว่าที่ผ่านมาหลายคนคง เตรียมความพร้อมกันมาบ้างแล้วทั้งในแง่ความเข้าใจพื้นฐาน ภาพจํา ประสบการณ์ มุมมอง และ การวิเคราะห์ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งแน่นอนว่าความไม่ตายตัวของประเด็นต่างๆที่ เกิดขึ้นนี้มักจะถูกเชื่อมโยงเป็นบทเรียนและบทวิเคราะห์ที่สามารถนํามาต่อยอดในการทําข้อสอบในรูปแบบต่างๆ ทั้งการสอบแบบปรนัย และ การสอบอัตนัยในลักษณะเรียงความ (ถ้ายังใช้ระบบเดิม) ที่เชื่อว่าการพัฒนาตนเองจะสามารถนําไปต่อยอดสู่ความสําเร็จและความท้าทายที่มีความเปลี่ยนแปลงบนวิถีความเชื่อ ความศรัทธา และ ความจริงที่เราเข้าใจและมีภาพ ต่างๆเกี่ยวกับคําว่า สังคมศึกษา สังคมสงเคราะห หรือ คําอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสอบวิชาเฉพาะสังคมสงเคราะห์สําหรับการเข้าศึกษาต่อนั้นหลายคนจะมีความกังวลใจกับประเด็นของข้อสอบและการเตรียมความพร้อมที่หลายภาคส่วนมีการอธิบายและมีแนวทางที่แตกต่างกันไป ผู้เขียนอยากแนะนําว่าในการสอบครั้งนี้พวกคุณสอบในฐานะ
“คนที่สนใจ” ไม่ใช่ “ผู้ประกอบวิชาชีพ” ดังนั้นลักษณะความรู้ที่นํามาใช้ในการสอบนั้นจึงมีความซับซ้อนน้อยกว่า แต่อาจจะมีการประยุกต์ วิเคราะห์และเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับวิชาสังคมศึกษากับประเด็นเบื้องต้นที่เกิดจากคําว่า “สังคมสงเคราะห์” ทั้งในแง่ความหมาย ที่มา ที่ไป การประยุกต์ใช้ผ่านสถานการณ์/ปรากฏการณ์/ปัญหา และ รูปแบบสังคมที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคกระแสและการเติบโตทั้งตัวประชากร นโยบาย ความต้องการ และ สภาวะแวดล้อมที่หลายครั้งความแปรปรวนทางสังคมก็ได้เข้ามามีผลต่อการทําหน้าที่ระหว่างกัน ดังนั้นความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ทักษะ และ การประสานงาน พวกคุณอาจจะ ศึกษาจากประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งในสังคมไทยและต่างประเทศ ควบคู่กับการใช้วิจารณญาณและประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อท้าทาย และ สิ่งที่สามารถ เกิดขึ้นได้ภายใต้อํานาจ โครงสร้าง และ ปัจจัยแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นในการสอบวิชาเฉพาะสิ่งที่ผู้เขียนอยากเตือนสติพวกคุณในการเตรียมตัวโค้ง สุดท้ายไม่ว่าคุณจะทบทวนด้วยตนเองหรือจะไปเรียนจากสื่อไหนก็ตาม อย่างน้อยที่สุดอยาก ให้คุณมีพื้นฐานและภาพจําที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับคําว่าสังคมสงเคราะห์และคําที่เกี่ยวข้องก่อน เมื่อคุณเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงกันได้แล้ว คุณถึงจะมองเห็นภาพและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่สามารถนํามาเชื่อม วิเคราะห์และ วิพากษ์ในบริบทที่ควรจะเป็น ซึ่งในการสอบข้อเขียนนั้นถ้าเป็นไปได้อยากให้สะท้อนออกมาให้เป็นตัวเองบนพื้นฐานความเป็น จริงแต่ก็ต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมแทรกซึมเสมอ อย่างไรก็ดี วิชาสังคมศึกษาผู้เขียนก็ขอแนะนําว่า “อย่าทิ้ง” เช่นกัน เพราะอย้างน้อยถ้าคุณมีพื้นฐานวิชาดังกล่าว ในระดับปานกลางขึ้นไป ผู้เขียนเชื่อว่าการต่อประเด็นและการนําไปประยุกต์ให้หลากหลาย อาจจะช่วยให้คุณมองเห็นบริบทที่กว่างและตอบโจทย์ในสิ่งที่ต้องการมากขึ้นที่ไม่ใช่แค่การสอบแล้วจบ
สุดท้ายผู้เขียนขอส่งความปรารถนาดีแก่ทุกคนที่กําลังจะเตรียมความพร้อมในการ สอบวิชาเฉพาะทุกคนไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ถ้ามีความตั้งใจ พยายาม และ มีเป้าหมายที่ชัดเจน โอกาสที่จะประสบความสําเร็จ ทั้งการเตรียมตัว การเข้าศึกษา และ การประกอบอาชีพ ไม่เกิน ที่จะคว้าเสมอ เพียงแค่ว่า
เราจะลงมือทําหรือไม ... แค่นั้นเอง
พี่จูน (เจ้าของเพจสรุปสังคม ม.ปลาย 4.0 By P’Jun)