ทำไมถึงเรียนสังคมสงเคราะห์ (?)

By P’Jun


          เชื่อว่าหลายคน ณ เวลานี้กำลังมีความคิดเกี่ยวกับการเข้าศึกษาต่อและมีแผนเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งแน่นอนว่าการปรับตัวให้เข้ากับตลาดแรงงานและความต้องการของตนเองเป็นสิ่งจำเป็นและต้องวางแผนให้ดีว่าเรามีความต้องการอะไร มีเป้าหมายต่อการเรียนรู้อย่างไรบ้าง และ จะต้องพัฒนาตนเองอย่างไรเพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการที่มีอยู่
 
          เมื่อนึกถึงคำว่า “การช่วยเหลือสังคม” หลายคนคงนึกถึงคำว่า “สังคมสงเคราะห์” ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่กำลังสื่อ ณ ตอนนี้คือ การเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และในสาขาที่เกี่ยวข้องเช่น การพัฒนาสังคม เป็นต้น แน่นอนว่าเมื่อแต่ละคนมีเป้าหมายที่จะทำงานเพื่อสังคมหรือต้องการที่จะช่วยเหลือคนที่กำลังประสบปัญหาไม่ว่าปัญหานั้นจะมีความซับซ้อน มีเงื่อนไข หรือ มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นตามกลไกและตัวแปรต่างๆทั้งปัจจัยภายในและภายนอก แต่ไม่ได้หมายความว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้เขาสามารถดำรงอยู่ได้จะไม่มีความสำคัญและไม่สามารถตอบโจทย์ในสิ่งที่ควรจะเป็นตราบใดที่การเปลี่ยนผ่านได้ถูกผลิตสร้างภายใต้วาทกรรม โครงสร้างอำนาจ และ ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวกับการพัฒนาและการยกระดับคุณภาพชีวิตที่จริงแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องตัดสินหรือประเมินเพียงด้านใดด้านหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือไม่ เพราะคุณภาพชีวิตล้วนมีเงื่อนไข ตัวแปร และ ข้อกำหนดที่ทำให้การพัฒนาต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม

          เคยมีคนมาถามพี่ว่า “พี่จูน ….ทำไมถึงอยากเข้าคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (?)” พี่มักจะตอบเสมอว่า “พี่ชอบช่วยเหลือสังคมและชอบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น” ดูเหมือนว่าคำตอบที่สื่อออกมานั้นมีความเรียบง่าย แต่แท้จริงแล้วพี่แอบซ่อนความเรียบง่ายบนพื้นฐานความเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ที่มีผลต่อการทำหน้าที่ทั้งการค้นคว้า การช่วยเหลือ และ การสร้างหลักประกันที่ดีให้กับสังคมภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่พี่ได้เรียนรู้จากการเรียนสายสังคมสงเคราะห์คือ การช่วยเหลือคนนั้นไม่ใช่เพียงการช่วยให้จบไปหรือช่วยให้คนพ้นทุกข์ แต่เราต้องช่วยอย่างมีเหตุผลและคำนึงถึงความเหมาะสมและความยั่งยืนตามบรรทัดฐานและการจัดระเบียบที่เหมาะสมและตอบโจทย์ต่อสถานการณ์ บริบท และ สิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงรู้อยู่เสมอสำหรับการเรียนรู้และปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่เพียงแค่การเรียนเพื่อรู้ว่า เราจะช่วยเหลือคนไปทำไม แต่เราต้องเข้าใจตัวเองว่า เราเรียนสังคมสงเคราะห์ไปเพื่อทำงานนิมิติใดมากกว่า

 
          อย่างที่ทราบกันว่าการเรียนสังคมสงเคราะห์เป็นการเรียนที่มีการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางวิชาการกับศิลปะในการทำงานกับผู้คนที่มีความหลากหลายท่ามกลางทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ความต้องการและสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิ” “สวัสดิการ” เป็นสิ่งที่ถูกเรียกให้คู่กันและมองว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำมาประกอบการดำเนินชีวิตท่ามกลางโอกาส การพิทักษ์สิทธิ์ และ ความชอบธรรมในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง อย่างไรก็ดีในการพิทักษ์สิทธิ์ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งสามารถทำได้นั้นกลายเป็น “โอกาส” และ “การเข้าถึง” ที่ทุกคนสามารถใช้เสียงที่มีในการปกป้องโอกาส ขยายฐานคิดและประสบการณ์ตนเอง รวมทั้งการเข้าร่วมสิทธิ์ต่างๆในสิ่งที่ทุกคนมองว่า เป็นสิ่งที่ดีงามและเหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตทั้งในฐานะ “ผู้ให้” และ “ผู้รับ” ท่ามกลางความหลากหลาย การเปลี่ยนผ่าน และ วิวัฒนาการที่ทุกคนจะต้องก้าวและเดินต่อไปตามยุคสมัย ความต้องการ และ ความจำเป็นในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง


          เชื่อว่าหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “สวัสดิการ” และ “สิทธิ์ขั้นพื้นฐาน” จากรายวิชาหน้าที่พลเมืองที่ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาส สิทธิ และ มีเสรีภาพในการดำเนินชีวิตตราบใดที่เราปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม เช่นเดียวกับการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานและโอกาสต่างๆที่พึงได้รับในฐานะที่เป็นพลเมืองโดยไม่จำเป็นที่จะต้องร้องขอเพราะเชื่อว่าการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตเป็นหน้าที่สำคัญของทุกภาคส่วนที่จะต้องทำหน้าที่ของกันและกันโดยที่ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง ความถูกใจ และ ความเหมาะสมต่อสิ่งที่จะช่วยเหลือและเกื้อกูลกับความต้องการต่างๆทั้งที่บางอย่างไม่สามารถตอบโจทย์หรือตอบสนองกับทุกคนได้ในเวลาพร้อมกันไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แน่นอนว่าการบริหารจัดการสังคมในทางสังคมสงเคราะห์นั้นไม่ใช่แค่การแก้ปัญหากับข้อเรียกร้องต่างๆในหน้างานเท่านั้น การบริหารจัดการเชิงนโยบายและการคุ้มครองต่างๆภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ อนุสัญญา และ ความร่วมมือต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งกฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้ผ่านความร่วมมือ ข้อบังคับ และ เงื่อนไขต่างๆที่เกิดขึ้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกลายเป็น “ชนวนสำคัญ” ในการเรียกร้องและมีความท้าทายต่างๆที่ถูกพ่วงด้วยกรอบต่างๆทั้งการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ทุกอย่างสามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และความจำเป็นที่เกิดขึ้นได้เสมอ
 

         
           อย่างไรก็ตามสิ่งที่อยากให้คิดกันต่อสำหรับใครที่สนใจอยากเรียนด้านสังคมสงเคราะห์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องไม่ใช่เพียงคิดว่า “การช่วยเหลือสังคม/คน” จะเป็นคำตอบสำหรับทุกอย่างในการเรียนสังคมสงเคราะห์ เราไม่ได้เรียนเพื่อช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาเท่านั้น แต่ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถที่จะเข้าถึงกระบวนการสังคมสงเคราะห์ในฐานะที่เป็น “มนุษย์” คนหนึ่งอย่างมีคุณค่าและมีความเท่าเทียมกันท่ามกลางกระแสสังคมและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แม้ว่าโลกใบนี้จะมีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น ความย้อนแย้ง การยอมรับ และ การปรับตัวเพื่อให้ทุกอย่างสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า งานสังคมสงเคราะห์จะไม่ต้องปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทุกอย่างก็ต้องปรับตัวไปตามกระแสนิยม ความต้องการ และ ปัญหาต่าง แต่สุดท้ายจุดยืนและความตั้งใจของวิชาชีพที่จะเป็น “เบื้องหลัง” ที่ปิดทองหลังพระนั้นไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำเช่นกัน เพียงแต่เราจะเปิดใจ เรียนรู้ และ ปรับตัวกับสิ่งต่างๆที่มีอยู่อย่างไรเพื่อให้สิ่งเหล่านั้นเกิดคุณค่าและกลายเป็น “ต้นทุน” ไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆอย่างยั่งยืน
 
          “ก็อยู่ที่ตัวเราจะเลือกและลงมือทำเช่นกัน” (ในตอนหน้าจะเล่าเกี่ยวกับการเตรียมตัวสำหรับรอบที่ 3 และ 4 จากบทวิเคราะห์คะแนนสอบนะครับ)
 
P’Jun (พี่จูน)  ปพน จูน คิมูระ
คอรืสเรียน https://www.boostup.in.th/institute/tutor/77/course
 
 


 
 


 
 
    
พบเทคนิคต่าง ๆ อีกมากมายที่ http://bit.ly/BoostUpLine 
ติดตามโปรโมชั่นและคอร์สเรียนอื่นๆ ที่ https://www.boostup.in.th/
ติดตามเพจที่   https://facebook.com/boostuptutor/