เก็บวิชาสังคมอย่างไรให้ปัง (สำหรับการมองแบบทุกสาระวิชา)


เก็บวิชาสังคมอย่างไรให้ปัง (สำหรับการมองแบบทุกสาระวิชา)

By พี่จูน

          “วิชาสังคมเป็นวิชาที่ต้องจำเยอะและยาก” คำนี้พี่ได้ยินและได้อ่านจากน้องหลายๆคนตามสื่อต่างๆที่เมื่อพูดถึงวิชาสังคมในมุมมองต่างๆทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดหากเลือกที่จะเปิดใจและฝึกฝนอย่างเป็นระบบ

          แต่ก็มีข้อสังเกตเช่นกันว่า วิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาที่ต้องใช้ความจำและความเข้าใจค่อนข้างมาก ต่อให้รูปแบบข้อสอบจะมีการเฉลี่ยสาระวิชาต่อข้อในสัดส่วนที่เท่ากัน แต่ด้วยรูปแบบเนื้อหา รายละเอียดในการเจาะลึก และ การวิเคราะห์ในแต่ละสาระที่มองว่าดูเหมือนง่าย แต่ยาก และบางทีก็ดูเหมือนยากแต่ง่ายจนเหลือเชื่อ สิ่งที่ชวนคิดคือ อะไรคือ “ความพอดี” และเราจะวางแผนในการเก็บเนื้อหา แนวโจทย์ และ การฝึกข้อสอบจากความชอบ ประสบการณ์ และ ความท้าทายของพวกเราได้อย่างไร ในเมื่อเวลาที่จะเตรียมตัวนั้นเหลือน้อยเต็มทีเช่นกัน

          “การอ่านให้หมดคือคำตอบสุดท้ายของวิชาสังคม” แต่สำหรับพี่พี่คิดว่า มันไม่ใช่คำตอบเลย เพราะการอ่านให้หมดคือ “การฝืนใจตนเอง” ที่ไม่ได้มีความสุขกับการเรียนรู้และการฝึกฝนแบบฝึกหัด แต่เป็นการทำหน้าที่ของตนเองในความรับผิดชอบเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่ามันอาจไม่ได้อะไรเลยแถมเสียเวลาเปล่า หากไร้เป้าหมายและการสร้างแรงจูงใจและความพยายามมากพอ ซึ่งในแต่ละสาระวิชาต่างมีเงื่อนไข ความสัมพันธ์ และ จุดเชื่อมต่อที่สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดความหมายและการวางโครงสร้างเนื้อหาที่แตกต่างกันไป โดยที่สามารถทบทวนได้ทั้งการอ่าน การติดตามข่าว การวิเคราะห์ และ การเปรียบเทียบ เพราะเชื่อว่าในคำถามของข้อสอบต่อให้มีการถามทฤษฎีหรือองค์ประกอบปลีกย่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นทางออกสุดท้ายที่จะบอกว่าเป็นทุกอย่างหรือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดต่อหัวใจและการให้คุณค่าแม้ว่าในตัวคำถาม ตัวข้อสอบ และ การออกข้อสังเกตอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องด้วยคงเป็นเสียงเรียกร้องที่เกิดขึ้นในใจจนกลายเป็น “ข้อท้าทาย” ที่เป็นการทำหน้าที่ร่วมกันระหว่างข้อเท็จจริง เสียงเรียกร้อง และ คำถามในใจ ที่ไม่ได้มีนิยามตายตัวว่าอะไรมาก่อนหลัง แต่กลับเป็นเสียงสะท้อนที่มีการศึกษาและทบทวนตนเองเหมือนกันจากสิ่งที่เรียนรู้ระหว่างข้อมูล คำถาม และ การพิสูจน์ความจริง

          สำหรับพี่ การเก็บวิชาสังคมให้ครอบคลุมและเกิดประสิทธิภาพนั้นมีหลายขั้นตอนที่สามารถทำได้หากน้องมีเวลาและพร้อมที่จะเปิดใจ แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึง 3 วิธี ในการเก็บความรู้และการฝึกโจทย์แบบพร้อมๆกันโดยที่สามารถประยุกต์กับวิชาอื่นได้อีกด้วย


อ่านแบบเชื่อมโยงประเด็นและความรู้ : ขั้นตอนนี้เป็นการทบทวนความรู้ที่มีความเป็นสหสาขาโดยที่น้องสามารถที่จะเข้าถึงประเด็นหลัก การลงรายละเอียดปลีกย่อย รวมทั้งการวางเงื่อนไขในการเชื่อมโยงในแต่ละเรื่องว่า ใจความของสิ่งนั้นคืออะไรท่ามกลางความรู้ในแต่ละอย่างที่ถูกวางออกมาอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งบางอย่างสามารถนำมาเปรียบเทียบ บางอย่างนำมาวิเคราะห์ และ นำมาตัดสินใจร่วมกันในการตอบคำถามเหล่านั้นได้อีกด้วย

 ฝึกโจทย์อย่างรัดกุม : จริงอยู่ว่าในแต่ละสาระจะมีแนวคำถามต่างๆเช่น ถามทางตรง ถามเชิงวิเคราะห์ และ การถามแบบเปรียบเทียบที่จะนำความรู้ในแต่ละสาระวิชามาต่อยอดให้เกิดเป็นประเด็นและการค้นหาอย่างเป็นระเบียบ แต่สุดท้ายแล้ว การมีพื้นฐานที่ดีและการใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ (ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลตัว) จะเป็นตัวช่วยที่เหมาะสมไม่ใช่แค่เพียงการทำความเข้าใจเท่านั้น แต่เป็นการฝึกและสังเกตอย่างเป็นระบบ


การต่อยอดที่ไม่สิ้นสุด : หลายคนอาจคิดว่า “จะไปต่อยอดอะไรได้” แต่ทำไมหลายครั้งที่ผ่านมาข้อสอบวิชาสังคมถึงเลือกที่จะเจาะลึกและผสมผสานกับความเรียบง่าย ที่มิใช่แค่การวางประเด็นและกรอบคิดเท่านั้น แต่เป็นการสร้างเนื้อหาและบริบทความน่าสนใจที่สุดท้ายแล้ว การวิพากษ์และการให้ความยอมรับต่อเนื้อหากับบริบทที่สนใจจะเป็นคำตอบระหว่างกันที่จะนำไปซึ่งการพิจารณาและให้ความหมายอย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ

          จากคุณสมบัติที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ในแง่ของเนื้อหา รายละเอียด และ การเตรียมตัวทั้งในเชิงลึก การวิเคราะห์ประเด็น และ การเตรียมรายละเอียดที่ไม่ใช่แค่การอ่านเพื่อท่องจำ หรือ ทำความเข้าใจต่อรายละเอียดที่เชื่อว่าข้อสอบแต่ละสาระวิชาจะสามารถนำมาประยุกต์ได้ แต่การเก็บวิชาสังคมให้ปังนั้น หัวใจสำคัญที่นำมาเป็นองค์ประกอบต่อความเข้าใจที่ไม่ใช่แค่การสร้างความเข้าใจอย่างเดียว แต่เราต้องเรียนรู้ ต่อยอด และ วิเคราะห์รายละเอียดเพราะมองว่าสิ่งที่นำมาต่อยอดให้เกิดความเป็นรูปธรรมเพราะอย่างที่กล่าวไปตั้งแต่แรกคงเป็นสิ่งที่สามารถตอบคำถามและสะท้อนความคิดและประสบการณ์ที่มีอยู่บนพื้นฐานของความหลากหลายและกรอบคิดที่หลายอย่างสามารถนำมาประกอบสร้างเพื่อให้โอกาสและความท้าทายของการสอบที่ไม่ใช่แค่การท่องจำหรือเก็งอย่างไรให้ปังแล้วได้คะแนนดีเท่านั้น แต่เป็นความรู้ที่สามารถติดตัวไปได้ตลอดชีวิตเพราะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วความรู้เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัวและมีกรอบอย่างชัดเจนสำหรับความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และ ความแน่ชัดที่สุดท้ายแล้วการสอบจะเป็นคำตอบและความชัดเจนที่ไม่ได้มีเพียงแค่ 1 หรือ 2 ทางเลือกที่จะต้องตอบ หรือ ทบทวนตนเองในช่วงหลังสอบเช่นกัน

          เชื่อว่าสำหรับการเตรียมสอบในตอนนี้ใครหลายคนคงได้เตรียมตัวกันมาในระดับหนึ่งแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์และความไม่แน่นอน พี่อยากให้พวกเราตั้งสติ และ รู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ เพราะเชื่อว่าถ้าเราวางแผนมาเป็นอย่างดีและสามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ วิชาสังคมศึกษาที่ดูเหมือนยาก อาจไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป แต่สุดท้าย ก็อยู่ที่เราว่าจะปรับตัวกับสถานการณ์อย่างไร

 

“มีสติ…และยอมรับความจริงนะครับ”
 

By P’Jun (พี่จูน)  ปพน จูน คิมูระ
คอร์สเรียน https://www.boostup.in.th/institute/tutor/77/course
 
 


 
 


 
 

P’Jun Teach Series (จากความรู้ในเพจ...สู่การวิเคราะห์และเห็นภาพวิชาสังคมแบบง่ายๆ)

    
พบเทคนิคต่าง ๆ อีกมากมายที่ http://bit.ly/BoostUpLine 
ติดตามโปรโมชั่นและคอร์สเรียนอื่นๆ ที่ https://www.boostup.in.th/
ติดตามเพจที่   https://facebook.com/boostuptutor/